ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ Q2/66 เพิ่มขึ้นพบสัญญาณราคาคอนโดเริ่มขยับแรง : อินโฟเควสท์

  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 31 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 16%
  • Publisher: 68%

ประเทศไทย หัวข้อข่าว ข่าว

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ Q2/66 เพิ่มขึ้นพบสัญญาณราคาคอนโดเริ่มขยับแรง REIC ดัชนีราคาบ้านจัดสรร ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ อินโฟเควสท์

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายไตรมาส 2/66 พบว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ฯ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 129.7 เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/66 ส่วนดัชนีราคาภาพรวมห้องชุดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลอยู่ที่ 155.1 จุด เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.

โดยเมื่อแยกรายละเอียดพบว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรตามพื้นที่ กรุงเทพฯ อยู่ที่ 127.9 เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ 3 จังหวัดปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 130.5 เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบ YoY และเพิ่มขึ้น 1.2% QoQ ดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์ ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 2/66 มีค่าดัชนีเท่ากับ 129.9 เพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบ YoY และเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบ QoQ โดยพบการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกัน 3 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 4/65 ถึงไตรมาส 2/66 โดยกรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 128.8 เพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อเทียบ YoY แต่ลดลง -0.5% เมื่อเทียบ QoQ

 

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ ความคิดเห็นของคุณจะถูกเผยแพร่หลังจากได้รับการตรวจสอบแล้ว
เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

 /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

เงินเฟ้อออสซี่ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ใน Q2/66 : อินโฟเควสท์สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลียรายงานในวันนี้ (26 ก.ค.) ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้น 0.8% ในไตรมาส 2/2566 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งเป็นการปรับขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3/2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 1.0% รายงานระบุว่า เงินเฟ้อออสเตรเลียลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ในไตรมาส 2/2566 เนื่องจากต้นทุนในช่วงวันหยุดและน้ำมันลดน้อยลง ซึ่งบ่งชี้ว่ามีแรงกดดันให้ธนาคารกลางออสเตรเลียต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายน้อยลง เมื่อเทียบเป็นรายปี ดัชนี CPI ชะลอตัวสู่ 6.0% ในไตรมาส 2/2566 จาก 7.0% และต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 6.2% สำหรับเดือนมิ.ย. ดัชนี CPI ปรับขึ้น 5.4% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และลดลงจาก 5.5% ในเดือนพ.ค. ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.9% ในไตรมาส 2/2566 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และลดลงแตะ 5.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ 6.0% โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 […]
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »

ดอยซ์แบงก์เผยกำไรลด 27% ใน Q2/66 เหตุธุรกิจวาณิชธนกิจตกต่ำ : อินโฟเควสท์ดอยซ์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของเยอรมนี รายงานในวันนี้ (26 ก.ค.) ว่า ดอยซ์แบงก์มีกำไรลดลง 27% ในไตรมาส 2/2566 เนื่องจากรายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจตกต่ำ แต่กำไรไตรมาส 2/2566 ลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นช่วยหนุนกำไรในธุรกิจลูกค้ารายย่อย รายงานระบุว่า กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 763 ล้านยูโร (843.04 ดอลลาร์สหรัฐ) ในไตรมาส 2/2566 ซึ่งลดลงจาก 1.046 พันล้านยูโรในปีก่อนหน้า แต่ดีกว่าที่กลุ่มนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 571 ล้านยูโร ดอยซ์แบงก์ระบุว่า บริษัทเผชิญต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2/2566 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายด้านการฟ้องร้องคดีและการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง ขณะเดียวกัน ดอยซ์แบงก์ได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการธุรกิจ โดยขณะนี้คาดการณ์ว่า รายได้จะลดลงเล็กน้อยในปี 2566 เทียบกับที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ารายได้จะทรงตัว ตัวเลขดังกล่าวตอกย้ำถึงกระแสธุรกิจธนาคารโลก โดยธุรกิจวาณิชธนกิจกำลังประสบความยากลำบาก เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ระงับการทำข้อตกลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นหนุนธุรกิจอื่น ๆ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของดอยซ์แบงก์กลายเป็นแหล่งสร้างรายได้หลักในไตรมาส 2/2566 โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธุรกิจลูกค้ารายย่อยจะโค่นธุรกิจวาณิชธนกิจในฐานะแหล่งสร้างรายได้หลักสำหรับตลอดทั้งปีนี้ หลังจากที่ธุรกิจวาณิชธนกิจสร้างรายได้มากที่สุดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แม้กำไรลดน้อยลง แต่ดอยซ์แบงก์ยังสามารถทำกำไรได้ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ […]
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »

'เมตา' โชว์กำไร-รายได้สูงกว่าคาดใน Q2/66 หนุนราคาหุ้นพุ่งกว่า 5% : อินโฟเควสท์บริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมเปิดเผยกำไรและรายได้ที่สูงกว่าคาดในไตรมาส 2/2566 และยังได้เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการในไตรมาส 3 ที่สูงเกินคาดเช่นกัน ซึ่งช่วยหนุนราคาหุ้นเมตาพุ่งขึ้นกว่า 5% ในการซื้อขายนอกเวลาทำการที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กช่วงเช้านี้ ทั้งนี้ เมตาเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 2.98 ดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ของรีฟินิทิฟ (Refinitiv) คาดการณ์ไว้ที่ 2.91 ดอลลาร์ และรายได้อยู่ที่ 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 3.112 หมื่นล้านดอลลาร์ ยอดผู้ใช้งานรายวัน (DAUs) อยู่ที่ 2.06 พันล้านราย มากกว่าตัวเลขการคาดการณ์ที่ระดับ 2.04 พันล้านราย และยอดผู้ใช้งานรายเดือน (MAUs) อยู่ที่ 3.03 พันล้านราย มากกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 3 พันล้านราย ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน (ARPU) อยู่ที่ระดับ 10.63 ดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 10.22 ดอลลาร์ นอกจากนี้ เมตาคาดการณ์ว่า รายได้ในไตรมาส 3/2566 […]
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »

ลุ้นกำไร 2 ยักษ์ใหญ่กลุ่มมือถือ Q2/66 จับตา TRUE ประกาศงบวันนี้เก็งงบหุ้นกลุ่มมือถือไตรมาส 2/66 จับตา “TRUE” ประกาศผลงานวันนี้ โบรกฯ คาดขาดทุนลดลงจากไตรมาสก่อน ขณะที่ “ADVANC” แจ้ง 7 ส.ค.นี้ ลุ้นกำไรเติบโตต่อเนื่อง เหตุรายได้เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายลดลง
แหล่ง: PostToday - 🏆 50. / 51 อ่านเพิ่มเติม »

ผ่างบ Q2/66 ส่อวูบ ลุ้นกำไรครึ่งหลังฟื้น ชู 17 หุ้นน่าสะสมโบรกเปิดกำไรไตรมาส 2/66 คาดลดลงทุกมิติ พร้อมหวังเห็นงบกลับมาฟื้นในช่วงครึ่งปีหลังอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น กระตุ้นเศรษฐกิจจีนและรัฐบาลใหม่ เชียร์ 17 หุ้น
แหล่ง: PostToday - 🏆 50. / 51 อ่านเพิ่มเติม »

หนี้ครัวเรือนไทยปี 66 เฉลี่ย 5.5 แสนบาท พุ่งสูงในรอบ 15 ปี คาดพีคในปี 67 : อินโฟเควสท์นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยปี 66 พบว่า คนไทยมีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ย 559,400 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 11.5% ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นหนี้ในระบบประมาณ 80% และอีก 20% เป็นหนี้นอกระบบ โดยกลุ่มตัวอย่างยอมรับว่า สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนมาจากการขาดวินัยทางการเงิน รองลงมา รายรับไม่พอกับรายจ่าย วางแผนการลงทุนผิดพลาด และมีความรู้ทางการเงินไม่เพียงพอ “หนี้ครัวเรือนมีโอกาสสูงขึ้น และวงเงินก่อหนี้ น่าจะพีคสุดในช่วงปี 67 ส่วนหนี้ครัวเรือนในปี 66 สูงสุดจากที่ทำการสำรวจมาในรอบ 15 ปี โดยมีผลพวงมาจาก trade war ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการระบาดของโควิด ตั้งแต่ปี 62-63 ทำให้คนก่อหนี้มากขึ้น และเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่ควรจะเป็น ต่อให้มีการเลือกตั้ง ความแน่นอนทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ชัด ทำให้เขาคาดว่าต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพสูง รายได้ต่ำไปจนถึงต้นปีหน้า” นายธนวรรธน์ กล่าว อย่างไรก็ดี ภาพรวม มองว่าแม้หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันจะขึ้นไปแตะ 90% ของจีดีพี […]
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »