จีนเผยนำเข้าพลังงานรัสเซียเกือบ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เริ่มสงครามยูเครน : อินโฟเควสท์

  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 51 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 24%
  • Publisher: 68%

ประเทศไทย หัวข้อข่าว ข่าว

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว

จีนเผยนำเข้าพลังงานรัสเซียเกือบ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เริ่มสงครามยูเครน จีน พลังงาน รัสเซีย อินโฟเควสท์

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างข้อมูลจากสำนักงานศุลกากร จีนว่า จีนยังคงเพิ่มการนำเข้าพลังงานของรัสเซียในเดือนต.ค. โดยซื้อก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้นแตะระดับเกือบ 6 หมื่นล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เกิดสงครามยูเครน จากประมาณ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า

รายงานระบุว่า ยอดขายพลังงานของรัสเซียยังคงสูงขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะทำให้การนำเข้าอื่น ๆ ตั้งแต่ก๊าซจนถึงทองแดงของจีนลดลง แต่ยอดนำเข้าน้ำมันดิบยังคงสูง เนื่องจากกลุ่มโรงกลั่นตอบรับมาตรการที่ทางการจีนให้โควตาส่งออกเชื้อเพลิงมากเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ GAC ระบุว่า จีนนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มขึ้น 16% แตะที่ 7.72 ล้านตันในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นรองเพียงซาอุดีอาระเบียเท่านั้น โดยยอดนำเข้าที่เพิ่งขึ้นเป็นผลมาจากกลุ่มโรงกลั่นของจีนขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อนำเข้าสินค้าจากรัสเซีย หลังจากจะมีการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ในต้นเดือนหน้า

ส่วนยอดขายก๊าซธรรมชาติเหลว ของรัสเซียขยายตัวมากกว่าครึ่งจากปีก่อนหน้าแตะ 756,000 ตันในเดือนต.ค. แม้ว่าจีนจะนำเข้า LNG ลดลง 34% ก็ตาม ทั้งนี้ จีนไม่ได้รายงานการนำเข้าก๊าซผ่านทางท่อส่งก๊าซ ซึ่งเป็นเส้นทางส่งก๊าซหลักของรัสเซียนับตั้งแต่ต้นปี นอกจากนี้ จีนยังนำเข้าถ่านหินจากรัสเซียเพิ่มขึ้น 26% แตะ 6.4 ล้านตัน โดยจำนวนประมาณ 2.4 ล้านตันเป็นถ่านโค้กสำหรับอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งเพิ่มขึ้น 3 เท่าของปีก่อนหน้า แม้จะต่ำกว่าสถิติที่เคยทำไว้ในเดือนก.ย. เล็กน้อย

 

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ ความคิดเห็นของคุณจะถูกเผยแพร่หลังจากได้รับการตรวจสอบแล้ว
เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

 /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

บิ๊กป้อม แต่งตั้งคกก.กำหนดนโยบายเลือกตั้ง พปชร. 'ไพบูลย์ นิติตะวัน' นั่งประธาน : อินโฟเควสท์รายงานข่าวจากพพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีคณะกรรมการฯ 15 คน ประกอบด้วย 1.นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานกรรมการ 2.พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองประธานกรรมการ สำหรับกรรมการ ได้แก่ 3.นายอัครวัฒน์ อัศวเหม 4 นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ 5.นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ 6.นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ 7.นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา 8.นายรงค์ บุญสวยขวัญ 9.นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ 10.น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ 11. พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ 12.นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) 13.นายบุรินทร์ สุขพิศาล 14.นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย และ 15.น.ส.พรรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ …
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »

SCBEIC มองวิกฤติอาหารโลก โอกาสท่ามกลางความเสี่ยงระยะยาวของไทย : อินโฟเควสท์ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า วิกฤติความมั่นคงด้านอาหารของโลกมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากหลายปัจจัย โดยปัจจุบันวิกฤติอาหารโลก (Global food crisis) มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงมากขึ้น ท่ามกลางความเสี่ยงด้านต่างๆ ในระบบนิเวศ ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารในระดับต้นน้ำ ทั้งในส่วนของการทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ระดับกลางน้ำ อย่างการแปรรูป และผลิตอาหาร เรื่อยมาจนถึงปลายน้ำ อย่างการค้าขายและขนส่งสินค้าต่อไปยังผู้บริโภคขั้นสุดท้ายในห่วงโซ่การผลิตอาหาร อย่างไรก็ดี วิกฤติการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในรอบนี้เปรียบเสมือนระเบิดเวลา และสัญญาณเตือนภัยครั้งใหญ่ ที่ผู้คนทั่วโลกต้องตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือ สอดคล้องกับรายงานของ Global Report on Food Crises ประจำปี 65 ซึ่งระบุว่า ประชากรมากถึงเกือบ 193 ล้านคนใน 53 ประเทศทั่วโลก กำลังเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างเฉียบพลัน ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลพบว่าวิกฤติอาหารโลกรอบนี้ เกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1. การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยน (Turning point) สำคัญ ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวเร่งที่เข้ามาเพิ่มแรงกดดันต่อวิกฤติความมั่นคงด้านอาหารที่มีอยู่ก่อนแล้วให้กลับยิ่งเลวร้ายลงไปอีก รวมทั้งยังส่งผลกระทบในวงกว้างต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโลก ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน สำหรับผลกระทบต่ออุปสงค์นั้น …
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »

'โกลด์แมนแซคส์' หั่นคาดการณ์ศก.อินเดียปี 66 หลังแรงหนุนจากการเปิดปท.ลดลง : อินโฟเควสท์โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวเศรษฐกิจอินเดียในปี 2566 โดยระบุว่าอุปสงค์ผู้บริโภคได้รับแรงกดดันจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น และปัจจัยหนุนจากการที่อินเดียกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งหลังช่วงโควิด-19 นั้น เริ่มลดน้อยลง ทีมนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ที่นำโดยแอนดรูว์ ทิลตัน รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีแนวโน้มขยายตัว 5.9% ในปี 2566 ลดลงจากคาดการณ์เดิมระดับ 6.9% รายงานระบุว่า “อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มจะชะลอตัวในครึ่งแรกของปี 2566 เนื่องจากแรงหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจเริ่มลดน้อยลง และการดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ ส่วนในครึ่งหลังของปีนั้น เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มขยายตัวรวดเร็วขึ้นตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การส่งออกสุทธิมีแนวโน้มลดลง และวงจรการลงทุนปรับตัวเพิ่มขึ้น” สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า อินเดียซึ่งผ่านพ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และกลับมาทวงตำแหน่งประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ขยายตัวเร็วที่สุดในปีงบการเงินที่สิ้นสุดในเดือนมี.ค.ปีนี้ กำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ตั้งแต่การใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จนถึงปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และการขาดดุลด้านการคลังและการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น ทีมนักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์กล่าวว่า สกุลเงินรูปีเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค แม้จะอ่อนค่าอยู่บ้างเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของอินเดียจะชะลอตัวสู่ระดับ 6.1% ในปี 2566 จากคาดการณ์เดิมที่ 6.8% ในปีนี้ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 พ.ย. 65) FacebookTwitterLine
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »

IMF คาดไทย-จีนเป็นเพียง 2 ประเทศในเอเชียที่จีดีพีเป็นบวกปีนี้และโตเพิ่มปีหน้า : อินโฟเควสท์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WORLD ECONOMIC OUTLOOK REPORT) ในเดือนต.ค. 2565 คาดการณ์ว่า ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น มีประเทศไทยและจีนเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) ที่ขยายตัวทั้งในปี 2565 และ 2566 และการขยายตัวของจีดีพีที่แท้จริงในปีหน้านั้นยังเพิ่มขึ้นจากระดับในปีนี้ด้วย IMF Staff estimates คาดการณ์ว่า จีดีพีที่แท้จริงของไทยในปี 2566 จะขยายตัว 3.7% เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.8% ของปี 2565 ส่วนจีดีพีที่แท้จริงของจีนนั้น IMF คาดว่าจะขยายตัว 4.4% ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจากระดับ 3.2% ในปี 2565 นอกจากนี้ IMF ยังคาดการณ์ว่าอัตราว่างงานของประเทศไทยอยู่ที่ระดับต่ำสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยอยู่ที่เพียง 1.0% ทั้งในปี 2565 และ 2566 ทั้งนี้ IMF คาดการณ์จีดีพีที่แท้จริงและอัตราว่างงานของประเทศต่าง …
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »

'อีลอน มัสก์' ประกาศคืนสิทธิบัญชีทวิตเตอร์ให้ 'โดนัลด์ ทรัมป์' : อินโฟเควสท์นายอีลอน มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและเจ้าของคนใหม่ของทวิตเตอร์ประกาศว่า จะคืนสิทธิการใช้งานบัญชีทวิตเตอร์ให้กับนายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐในวันเสาร์ (19 พ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น ทั้งนี้ นายมัสก์ได้เปิดให้ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ร่วมกันลงมติว่า ควรคืนสิทธิการใช้บัญชีทวิตเตอร์ให้นายทรัมป์หรือไม่ หลังจากถูกระงับการใช้บัญชีแบบถาวรไปเมื่อปีที่ผ่านมา โดยหลังจากทำแบบสำรวจนาน 24 ชั่วโมงตั้งแต่วันศุกร์ที่ 18 พ.ย.ตามเวลาสหรัฐก็พบว่า ชาวทวิตเตอร์ส่วนใหญ่สนับสนุนให้คืนสิทธิการใช้บัญชีทวิตเตอร์ให้นายทรัมป์ “นี่คือเสียงของประชาชน ทรัมป์จะได้รับสิทธิการใช้บัญชีอีกครั้ง” นายมัสก์เขียนบนทวิตเตอร์ พร้อมข้อความ “Vox Populi, Vox Dei” ซึ่งหมายความว่า “เสียงของประชาชนคือเสียงของพระเจ้า” อนึ่ง นายทรัมป์นั้นถูกระงับการใช้บัญชีทวิตเตอร์แบบถาวรในเดือนม.ค. 2564 ภายใต้การบริหารงานของเจ้าของทวิตเตอร์คนเก่า โทษฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง หลังกลุ่มผู้สนับสนุนของนายทรัมป์บุกก่อเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภา โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 พ.ย. 65) FacebookTwitterLine
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »

IMF คาดศก.ไทยขยายตัวเพิ่ม 3.7% ใน 2566 จาก 2.8% ในปีนี้ สวนทางทั่วโลกที่ชะลอลง : อินโฟเควสท์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลก โดยระบุว่า กิจกรรมเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวลงแบบเป็นวงกว้างและมากกว่าที่คาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ วิกฤตค่าครองชีพ ภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค การรุกรานยูเครนของรัสเซีย และการแพร่ระบาดแบบต่อเนื่องของโควิด-19 ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ถ่วงแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดย IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวแบบชะลอตัวที่ 3.2% ในปี 2565 จากการขยายตัว 6.0% ในปี 2564 นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะชะลอตัวลงเพิ่มเติมสู่การขยายตัว 2.7% ในปี 2566 นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการ IMF กล่าวขณะเข้าร่วมการประชุมเอเปคที่กรุงเทพฯในวันเสาร์ (19 พ.ย.) ว่า เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกเอเปคส่วนใหญ่กำลังชะลอตัวลง และอย่างน้อย 1 ใน 3 ของโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยสหรัฐ จีน และยุโรปเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวพร้อมกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยทั้ง 3 ถือเป็นหัวแรงหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่ยังคงมีความสดใส โดยอาเซียนเป็นหนึ่งในนั้น เช่นเดียวกับบางประเทศที่ได้ผลประโยชน์จากเงื่อนไขการค้าที่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ แต่โดยรวมแล้ว …
แหล่ง: InfoQuestNews - 🏆 7. / 68 อ่านเพิ่มเติม »