คนเมินไม่หลงเชื่อข่าวปลอม หนุนตั้งศูนย์ต่อต้าน ทำหน้าที่กลั่นกรอง

  • 📰 Thairath_News
  • ⏱ Reading Time:
  • 77 sec. here
  • 3 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 34%
  • Publisher: 63%

ประเทศไทย หัวข้อข่าว ข่าว

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว

คนในโลกโซเชียลส่วนใหญ่ ไม่เชื่อข่าวปลอม และไม่คิดจะแชร์ให้ใคร

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์ เรื่อง “ข่าวปลอม ” จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,522 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการหลงเชื่อการกระทำกับข่าวปลอม ที่ได้รับจากสื่อออนไลน์ ความคิดเห็นและความกังวลต่อการจัดตั้ง “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” โดยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.86 ระบุว่า ใช้สื่อออนไลน์ และร้อยละ 27.

เมื่อถามผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ว่าหลงเชื่อข่าวปลอม ที่ได้รับจากสื่อออนไลน์หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.23 ระบุว่า ไม่เคยหลงเชื่อในข่าวปลอม รองลงมา ร้อยละ 27.59 ระบุว่า เคยหลงเชื่อในข่าวปลอม และร้อยละ 11.18 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ และเมื่อถามผู้ที่ระบุว่าเคยหลงเชื่อและไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอม จากสื่อออนไลน์ ว่ากระทำอย่างไรกับข่าวปลอม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.09 ระบุว่า ไม่เคยแชร์ข่าวใดๆ รองลงมา ร้อยละ 24.42 ระบุว่า รู้ว่าเป็นข่าวปลอม และไม่แชร์ ร้อยละ 19.07 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ จึงไม่แชร์ ร้อยละ 9.77 ระบุว่า เฉยๆ เมื่อรู้ว่าข่าวที่แชร์ไปเป็นข่าวปลอม ร้อยละ 6.28 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ แต่แชร์ ร้อยละ 4.88 ระบุว่า ไม่รู้ว่าเป็นข่าวปลอม และแชร์ ร้อยละ 3.

สำหรับความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าเคยหลงเชื่อและไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอม จากสื่อออนไลน์ ต่อการจัดตั้ง “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.98 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะจะได้มีการกลั่นกรองข่าวก่อนที่จะแพร่หลายไปวงกว้าง เพราะสมัยนี้มี E-mail, Line, Facebook, IG เป็นต้น เกือบทุกคนจะได้มีการเกรงกลัวและไม่แชร์ข่าวปลอม รองลงมา ร้อยละ 8.

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความกังวลของผู้ที่ระบุว่าเคยหลงเชื่อและไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอม จากสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับ “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” ที่อาจจะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.84 ระบุว่า ไม่มีความกังวลเลย รองลงมา ร้อยละ 28.14 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกังวล ร้อยละ 27.91 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกังวล ร้อยละ 10.00 ระบุว่า มีความกังวลมาก และร้อยละ 5.11 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ.

 

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ ความคิดเห็นของคุณจะถูกเผยแพร่หลังจากได้รับการตรวจสอบแล้ว

แหมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

 /  🏆 8. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว