ข่าว

นักวิทย์รัสเซียเสี่ยงชีวิตจงใจติดโควิด-19 รอบสอง เพื่อศึกษาภูมิคุ้มกัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักไวรัสวิทยารัสเซียเป็นหนูทดลองเอง ติดโควิด-19 รอบสองโดยเจตนา เพื่อศึกษาภูมิต้านทานอยู่ยาวแค่ไหน 

 

ศาตราจารย์อเล็กซานเดอร์ เชปูร์นอฟ นักวิจัยสถาบันเวชศาสตร์ทดลองและคลินิกในไซบีเรีย ติดไวรัสโรคโควิด- 19 ครั้งแรก ช่วงสิ้นเดือนก.พ. ขณะไปท่องเที่ยวเล่นสกีในฝรั่งเศส โดยมีอาการไข้สูง เจ็บหน้าอกและไม่ได้กลิ่น ณ เวลานั้น การตรวจเชื้อไวรัสโคโรน่าในยุโรปเป็นไปได้ยาก จึงกลับบ้านเมืองโนโวซีบีร์สค์ ภูมิภาคไซบีเรีย พบปอดติดเชื้อทั้งสองข้าง แต่โชคดีที่หายป่วยโดยไม่ต้องเข้ารักษาตัวในรพ. หนึ่งเดือนถัดมา ตรวจสารภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี ยืนยันว่า เขาติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ Sars-Cov2 

การติดไวรัสกับตัวเองทำให้เชร์ปูนอฟและทีมนักวิจัยสถาบันฯ ที่ส่วนใหญ่มุ่งวิจัยพฤติกรรมและความยืนยาวของสารภูมิต้านทานในร่างกาย เริ่มศึกษาแอนติบอดีของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งพบว่า ผ่านไปเพียง 3 เดือนนับจากป่วย ก็ตรวจไม่พบแอนติบอดีแล้ว จากนั้น ศ.เชปูรอฟ ตัดสินใจทดสอบว่า ระบบภูมิต้านทานจะทำงานอย่างไรหากติดเชื้อซ้ำ  ด้วยการจงใจทำให้ตัวเองติดเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยโดยไม่ใส่ชุดป้องกัน ซึ่งเป็นการกระทำที่อันตราย 

 

นักวิทย์รัสเซียเสี่ยงชีวิตจงใจติดโควิด-19 รอบสอง เพื่อศึกษาภูมิคุ้มกัน

Siberia Times

 

ปรากฎว่าเขาติดเชื้อครั้งที่สองห่างจากรอบแรก 6 เดือน และอาการรุนแรงกว่า  เริ่มจากเจ็บคอ เป็นไข้ติดต่อกัน 5 วัน อุณหภูมิสูงกว่า 39 องศา ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ผลซีทีสแกนในวันที่ 6 พบปอดไม่มีปัญหา สามวันต่อมา ผลเอ็กซเรย์พบปอดอักเสบสองข้างเหมือนติดเชื้อครั้งแรก แต่ไวรัสหมดไปค่อนข้างเร็ว  ผลตรวจตัวอย่างสองสัปดาห์นับจากป่วย ไม่พบไวรัสแล้ว 

ผลการทดลองแบบเสี่ยงชีวิตที่ออกมา ทำให้นักวิจัยรัสเซียวัย 69 ปี เชื่อว่า ไม่ควรฝากความหวังกับภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไวรัส  SARS-CoV-2   เขาเชื่อว่าไวรัสจะยังคงอยู่อีกนาน และวัคซีนที่อาจสร้างภูมิคุ้มกันได้ มีแนวโน้มจะมีผลป้องกันแค่ชั่วคราว จำเป็นต้องมีวัคซีนที่สามารถใช้ได้หลายครั้ง 

เชปูร์นอฟ อดีตเคยทำงานที่ศูนย์ไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพเวคเตอร์ ที่ผลิควัคซีนต้านโควิด-19 ชนิดที่สองของรัสเซีย ในชื่อ EpiVacCorona ที่ต้องอาศัยการฉีดซ้ำๆเพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกัน 

สำหรับภูมิคุ้มกันหมู่ จะเกิดขึ้นเมื่อประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานโรคติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่จะกลายเป็นการป้องกันทางอ้อมให้กับคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนั้นไปด้วย เช่น หากประชากร 80% มีภูมิต้านทานไวรัส เมื่อคน 4 ใน 5 เจอกับผู้ติดเชื้อ ก็จะไม่ป่วย และจะไม่แพร่เชื้อต่อ 

ข้อดี-ข้อเสียไม่กักไวรัสโคโรน่า "ปล่อยระบาดสร้างภูมิคุ้มกัน"

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ